เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ได้
[75] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้อง
ต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ (ที่สุด)เบื้องต้น (ที่สุด)เบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์
ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป” 1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ได้
[76] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่น
มาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[77] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นเทวดาก็มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มนุษย์กับเทวดาเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม2
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) 16/124/215
2 ฝ่ายสกวาทีประสงค์จะแยกมนุษย์กับเทวดาว่ามีคติภพต่างกัน (อภิ. ปญฺจ.อ. 77/146)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :46 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
[78] สก. มนุษย์กับเทวดาเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลเป็นมนุษย์แล้วจึงเป็นเทวดา เป็นเทวดาแล้วจึงเป็นมนุษย์
(ดังนั้น) ผู้เกิดเป็นมนุษย์กับเทวดาจึงเป็นคนละคนกัน คำที่ว่า “บุคคลผู้เกิดเป็น
มนุษย์คนเดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด ฯลฯ
อนึ่ง หากบุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวไป จุติจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น
มิใช่คนละคนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้แต่ปาณาติบาตก็หยั่งรู้ไม่ได้
กรรมมีอยู่ ผลของกรรมก็มีอยู่ ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วก็มีอยู่ เมื่อกุศล
และอกุศลให้ผลอยู่ คำที่ว่า “บุคคลคนเดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด
[79] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นยักษ์มีอยู่ ... เป็นเปรต ... เป็นสัตว์นรก ...
เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ... เป็นอูฐ ... เป็นโค ... เป็นลา ... เป็นสุกร ... เป็นกระบือ
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มนุษย์กับกระบือเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[80] สก. มนุษย์กับกระบือเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นมนุษย์แล้วเป็นกระบือ เป็นกระบือแล้วเป็นมนุษย์ (ดังนั้น)
ผู้เกิดเป็นมนุษย์กับกระบือจึงเป็นคนละคนกัน คำที่ว่า “บุคคลผู้เกิดเป็นมนุษย์คน
เดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :47 }